Articles

15 Ways to improve you mixer เคล็บลับน่ารู้ในการมิกส์เสียงสำหรับการทำงานเพลง

15 วิธีเปลี่ยนมือใหม่ เป็นมือโปร !! 

▪ 1. References

- อันดับแรกหาเพลงโปรดของคุณที่ชื่นชอบ และพยายามตั้งใจฟังให้ได้มากที่สุด จดจำบรรยากาศในเพลงไว้ และนึกภาพให้ออกเมื่อคุณทำงานเพลงของคุณ ลองหาสิ่งที่คล้ายคลึงกับเพลงที่คุณกำลังมิกซ์อยู่ มันจะทำให้หูของคุณคุ้นเคยและสามารถอธิบายภาพ ถึงการจัดวางตำแหน่งเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นในเพลงของคุณได้ดีขึ้น

- เพราะหากไม่มี References คุณอาจหลงทางก่อนเริ่มต้น Mix ซึ่งจะทำให้คุณเสียเวลาเป็นอย่างมาก

▪ 2. Volume

- สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ถ้าระดับ Volume ของเครื่องดนตรีต่างๆ ทำออกมาได้แบบ ไม่ Balance หรือเหมาะสม มันจะทำให้ทุกสิ่งดูแย่เลย

- นึกภาพเสียงร้องที่เบาหวิว กลองที่ดังจนกลบทุกๆ อย่าง หรือเสียงกีตาร์ที่ดังเกินไปจนเกิดอาการแตกพร่า โอ้ นึกภาพก็สยองแล้ว

- รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงระดับเสียงเพื่อเพิ่มความมีมิติ de-esser สามารถควบคุมระดับเสียงความถี่ที่ไม่ต้องการออกไปได้ ซึ่งจะช่วยให้จัดการระดับเสียงอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น

- และจำไว้ว่าความเงียบก็เป็นส่วนหนึ่งของความดังเช่นกัน ลองใช้เทคนิคเก่า ๆ แต่ได้ผลอย่างจับคู่ระดับเสียงเบสกับเสียงร้อง และเริ่มดูระดับเอาต์พุต! ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง

▪ 3. Panning

- นึกภาพว่าคุณกำลังใส่ Head Phone แล้วกำลังฟังเพลงอยู่ มิติต่างๆ ที่ได้ยิน เป็นเรื่องสำคัญ ทั้งความกว้าง ความลึก ในด้านซ้ายและขวา มันทำให้เพลงดูน่าฟัง และมีรายละเอียดมากขึ้น

- การ Panning นั้นช่วยเพิ่มความคมชัด ความกว้าง และความลึก ลองวิเคราะห์ดูว่า เพลงของคุณ ว่าเสียงกลองนั้นจำเป็นต้องอยู่ในระบบสเตอริโอหรือไม่ หรือโมโนเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า

- หรือเสียงร้องคอรัสที่เป็นสเตอริโอ กีตาร์ควรจะฮาร์ดแพนทั้งซ้ายและขวาหรือเปล่า ? ลองจัดระเบียบสิ่งพวกนี้ดู แล้ว มันจะออกมาน่าสนใจมากขึ้น !!

▪ 4. Midrange

- เสียงกลาง คือ ย่านเสียงที่เครื่องดนตรีส่วนใหญ่อาศัยอยู่ แต่หลายๆ คนกลับกลัวย่านเสียงนี้ ลองเรียนรู้มัน และลองปรับมันให้เหมาะสม ลองควบคุมวอลลุ่มของย่านเสียงกลาง รวมไปถึงการ Panning เพื่อชดเชยย่านที่ขาดหายไปได้อีกด้วย

- ข้อควรระวัง เสียงกลางที่มากเกินไป จะทำให้ทุกอย่างฟังดูแข็ง และดูรก และ ตื้อตัน ได้ ค่อยทำความเข้าใจ ปรับและฟังไปเรื่อยๆ จนเจอจุดที่เหมาะสม

▪ 5. Lower midrange

- ย่าน กลางต่ำ เป็นสิ่งที่ต้องควรระวังอย่างที่สุด เพราะเมื่อไหร่ที่มันเริ่มเยอะเกินไป ทุกสิ่งทุกอย่างจะฟังดู ขุ่นมัว ยุ่งเหยิง ไปหมด ลองค่อยๆ ลดมันลง จนเจอจุด ที่เริ่มฟังดูเคลียร์ เอาหล่ะ ไปลองดูเถอะ ข้อนี้สร้างความแตกต่างได้จริงๆ

▪ 6. EQ

- ลองคัทย่านเสียงที่ไม่ต้องการทิ้งก่อน ร่างคอนเซปในหัวก่อน หลังจากนั้นค่อยๆ ปรับเพิ่มในส่วนที่ขาดหาย และลองฟังดูอีกครั้ง มันจะทำให้คุณทำงานง่ายกว่าเดิม

- ระมัดระวังการใช้ EQ เพื่อคัทความถี่ของเสียงร้องเพราะจะทำให้เกิดเสียงก้อง ลอย เหมือนอยู่ในห้อง

- และเรียนรู้รูปแบบพรีเซ็ตต่าง ๆ ของ EQ เพราะจะทำให้จัดการกับย่านเสียงบางตำแหน่งได้ง่ายขึ้น

▪ 7 เริ่ม Mix จากเครื่องดนตรีที่คุณคิดว่ามันจะทำให้คุณทำงานง่ายและรวดเร็วที่สุด

- บางคนเริ่ม Mix จากกลองก่อน แต่เราจะบอกว่า มันไม่มีอะไรถูกหรือผิดเลยแม้แต่นิด ความถนัดคนเราต่างกัน ว่าแล้วก็ไปลุยโลดด

▪ 8. จัดการ dry mix ให้ดีก่อน แล้วค่อยเพิ่ม effects.

- สัญญาณ Dry คือเสียงที่คุณบันทึกไว้ และยังไม่ถูกประมวลผล ดังนั้นจัดการ Dry Mix ให้ดีก่อน แล้วค่อยเติม Effect ต่างๆ ลงไปในแบบที่คุณต้องการ

- คุณจะประหลาดใจว่าสูตรของการ Mix นี้จะดีกว่ามาก เพราะจะทำให้คุณทำงานง่ายและรวดเร็วกว่าเดิมมาก

▪ 9. เรียนรู้การ Mix อย่างรวดเร็วโดยใช้สัญชาตญาณและบันทึกมันซะ

- บางครั้ง ย้ำว่าบางครั้ง การคิดและยึดในกรอบมากเกินไป จะส่งผลให้เกิดการ Mix ที่ไม่มีชีวิตชีวา ทำให้เกิดการทำงานหนักหลายชั่วโมงในการ Mix เพียงอย่างเดียว

- เรียนรู้จากประสบการณ์ของคุณเอง วิเคราะห์และลองฟังงานเก่าๆ ของคุณดู หาข้อดี และ ข้อด้อย จากนั้นลองทำงานให้รวดเร็ว และเชื่อใจตัวเองให้มากขึ้น ลองดู อันนี้จะทำให้การทำงานสนุกขึ้น

▪ 10. Dynamics. Compression. Limiting.

- หากใช้งานอย่างเข้าใจ และถูกวิธี จะช่วยให้พาร์ท rhythm section ฟังดูหนักแน่นขึ้นได้ เรื่องของน้ำหนัก และเกลี่ยระดับสัญญาณในสัดส่วนเท่าๆ กัน และ การตั้ง limit อะไรพวกนี้ ทำให้ Part Rhythm ฟังดูดีขึ้น ลองดู

▪ 11. Spatial Effects. Delays. Reverbs.

- Delay หรือ Reverb ทำให้เสียงฟังดูน่าสนใจขึ้น แน่นอน แต่ใช้เฉพาะเวลาที่จำเป็นเท่านั้น เพราะการใช้ Effects ประเภทนี้เยอะเกินไป จะทำให้การ Pan ที่วางไว้อย่างถูกตำแหน่งดีแล้วเกิดการผิดเพี้ยน

▪ 12. Modulation effects. Flange, phase, etc.

- สามารถใช้เพื่อดึงดูด และสร้างจุดสนใจให้กับหูของคนฟัง แต่บางทีก็ฟังดูประหลาดเช่นกัน ลองใช้ดูเผื่อได้ไอเดียใหม่ๆ นะ

▪ 13. Output level.

- ควรจัดการให้พอดี ระวังอย่าให้สัญญาณดังจนแตกพร่า แต่ก็อย่าให้เบาเกินไป เพราะเมื่อต้องการที่จะเพิ่มในขั้นตอน mastering จะทำให้เกิดเสียง noise ได้

▪ 14. Mixes.

- การใช้หูที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการล้าได้ ลองตื่นขึ้นมาฟังสิ่งที่คุณ Mix ในเช้าวันใหม่ แล้วเริ่มทำงานต่อด้วยความสดใหม่

จะทำให้มีความแม่นยำในการ เพิ่ม-ลด เสียงเครื่องดนตรีต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

▪ 15. จะทำลายกฎ คุณต้องรู้กฎเพื่อที่จะทำลายอย่างแท้จริง!

- เริ่มต้น Mix จากคำแนะนำ 14 ข้อที่ผ่านมา จากนั้นจงทำในสิ่งที่คุณรู้สึกว่าถูกต้อง!



^

Subscribe